ให้บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล
ด้วยทีมงานผู้เชียวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย
เพื่อความพึ่งพอใจและมั่นใจสูงสุดของลูกค้า

สาระความรู้ / บทความ





◘ อันตรายจากการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์


ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานในหน่วยงานต่างๆมากมาย  ทั้งในสถานประกอบการขนาดใหญ่และขนาดย่อม  เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้มาก  เพราะความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การแปรผล  การแลกเปลี่ยนข้อมูล  และการสืบค้นข้อมูล  ที่ทำได้อย่างรวดเร็วและมีความแม่นยำ

 มีคนงานจำนวนมากที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล  แลกเปลี่ยนข้อมูล  สืบค้นข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสถานที่ทำงานที่มีสภาพสะอาดปราศจากฝุ่นหรืออยู่ในห้องปรับอากาศ  เพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ให้นานที่สุด  สภาพแวดล้อมและสภาพการทำงานดังกล่าวนั้น  คนส่วนใหญ่มักคิดว่าปลอดภัยจึงอาจละเลยในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานได้

ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์อาจเกิดอันตรายอะไรบ้าง

 

            ผู้ปฏิบัติงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ที่อยู่ในสถานที่ทำงานที่มีการจัดสภาพแวดล้อมและสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสมตลอดทั้งวัน  จะมีโอกาสได้รับอันตราย  ดังนี้

            —   อันตรายต่อสายตา   เกิดกับผู้ปฏิบัติงานกับจอภาพที่มีแสงบนจอมากเกินไป  มีแสงสะท้อนรบกวนสายตา  จอภาพที่มีสีสันมากเกินไป  แสงภายในห้องมีความสว่างต่างกับจอมาก  หรือภาพบนจอไม่นิ่ง  จะทำให้อาการปวดเมื่อยตา  เคืองตา  ตาแห้ง  แดง  ได้

อันตรายจากการทำงานซ้ำซากและการทำงานในท่วงท่าที่ไม่ถูกต้อง    ทำให้

            —   ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลัง  ไหล่  แขน  ขา  คอ   เกิดเนื่องจากการทำงานในท่วงท่าไม่ถูกต้อง  มีสาเหตุมาจากการจัดโต๊ะทำงาน  ระดับจอภาพ  ต้นฉบับ  เก้าอี้  ไม่เหมาะสมกับขนาดของร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน  หรือกี่ที่คนงานต้องทำงานในอิริยาบถเดียวกันตลอดทั้งวัน

            —   เอ็นนิ้วมืออักเสบ   เกิดเนื่องจากการทำงานพิมพ์บนแป้นพิมพ์ตลอดเวลาเป็นเวลานานๆทำให้นิ้วมือมีอาการเจ็บปวด  ชา  บริเวณข้อนิ้วไม่มีกำลังในการยึดจับสิ่งของ

            —   ความเครียด   เป็นภาวะทางอารมณ์ที่เกิดจากการทำงานซ้ำซากเป็นระยะเวลานานๆทำให้มีอาการหงุดหงิด  ปวดศีรษะ

            —   กล้ามเนื้อลำตัวหย่อนยานและกระดูกสันหลังโกง   เกิดจากการนั่งทำงานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ  ทำให้กล้ามเนื้อลำตัวอ่อนแอ  และยังทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร  และระบบหายใจด้วย

            —   เส้นเลือดขอด   มักเกิดกับหญิงมีครรภ์เพราะการนั่งนานๆทำให้เลือดมาคลั่งบริเวณน่อง

วิธีป้องกัน

การป้องกันสายตา

 

            —   เลือกหรือปรับคอมพิวเตอร์ที่ให้ภาพบนจอ  คม  ชัด  ขนาดความสูงของตัวหนังสือไม่น้อยกว่า  3  มิลลิเมตร  ตัวหนังสือที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน  จะต้องมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน  ภาพบนจอไม่กระพริบมาก  อย่าให้แสงตัวหนังสือกับพื้นจอตัดกันมาก  เพราะจะทำให้ตาทำงานหนัก

            —   การจัดแสงสว่างภายในห้องทำงาน  เพื่อป้องกันแสงจ้าและแสงสะท้อน  ควรใช้ม่านกั้นแสงที่เข้าทางหน้าต่าง  ระวังอย่าให้แสงจากดวงไฟส่องเข้าตาผู้ทำงานโดยตรง  อย่าให้มีความมืดกับความสว่างในห้องตัดกัน

            —   การจัดระยะระหว่างสายตากับงานที่ทำ  ได้แก่  จอคอมพิวเตอร์  เอกสารต้นฉบับอย่าวางไกลเกินไป  เพราะจะทำให้ต้องเพ่งมาก

 

การป้องกันอันตรายจากการทำงานซ้ำซากและทำงานในท่วงท่าไม่ถูกต้อง

 

ออกแบบสถานที่ทำงานให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของผู้ปฏิบัติงานได้แก่

            —   แป้นพิมพ์  ควรแยกกับจอและมีความสูงระดับข้อศอก  ถ้าสูงเกินไปจะทำให้ปวดเมื่อยบริเวณไหล่และคอ  หากต่ำเกินไปผู้ปฏิบัติงานจะต้องก้มลำตัว  ทำให้ปวดหลังได้

—     เก้าอี้  ที่ปรับระดับความสูง-ต่ำได้  พนักพิงควรปรับให้มีความสูงและมุมที่พอเหมาะ

—     ขณะนั่งทำงาน  ขาควรสอดอยู่ใต้โต๊ะได้อย่างสะดวก  ไม่อึดอัด

—     เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้หลายคน  ควรจัดที่วางเท้าไว้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับระดับการวางเท้า

ให้เหมาะสมตามความต้องการ

 จัดงานที่มีลักษณะอื่น  ให้คนงานได้ทำสลับกับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

กำหนดเวลาพักสั้นๆ  ระหว่างการทำงาน

ให้คำแนะนำหรือฝึกอบรม  วิธีการบริหารร่างกายที่สามารถปฏิบัติได้ในสถานที่ทำงาน  เพื่อผ่อนคลายความ

เครียดของกล้ามเนื้อและสายตาระหว่างการทำงาน