ปัจจุบันคนทั่วไปได้ให้ความสนใจเรื่องคุณภาพอาการภายในอาคารมากขึ้น เพราะคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality : IAQ) ส่งผลต่อสุขภาพของคนที่อาศัยอยู่ภายในอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเมืองที่ในแต่ละวันใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในอาคารที่ติดเครื่องปรับอากาศเกือบร้อยละ 90 ของเวลาในแต่ละวัน หากอากาศภายในอาคารมีมลพิษปนเปื้อนอยู่เกินกว่าค่าที่ยอมรับได้หรือมีการระบายอากาศไม่ดี อาจส่งผลผู้ที่อยู่ในอาคารเกิดโรค Sick Building Syndrome: SBS หรือโรคแพ้ตึก ซึ่งเป็นกลุ่มอาการป่วยที่คนทำงานในอาคาร เกิดอาการผิดปกติทางสุขภาพ หรือเกิดผลกระทบต่อความสบายในการทำงาน อาการที่พบ ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกไหล เคืองตา ไอ แน่นหน้าอก อ่อนล้า ปวดศีรษะ อาการป่วยดังกล่าว เป็นอาการที่ไม่มีลักษณะเฉพาะโรค และมักจะหายเมื่อออกจากอาคาร ซึ่งมีสาเหตุที่หลากหลาย ทั้งที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในอาคาร และภายนอกอาคาร นอกจากนี้ยังมีสาเหตุร่วม คือ ปัจจัยบุคคล และปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ ภายในอาคาร หากไม่มีการจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และแก้ไขสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากผลการตรวจวัดสามารถนำมาประเมินระดับความรุนแรงของปัญหา เพื่อจะได้วางแผนในการควบคุม แก้ไข และปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคารดังกล่าว
บริษัท ไอ.เอช.คอนซัลแตนท์ จำกัด มีความยินดีให้บริการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ให้ค่าความแม่นยำสูงและมีความสามารถในการตรวจวัดที่ระดับค่าความเข้มข้นต่ำๆได้ พร้อมใบรับรองการสอบเทียบ ตามรายการในตารางข้างท้ายนี้
ตารางที่ 1 สรุปรายการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยทั่วไป (Indoor Air Quality)
รายการที่ควรตรวจวัด |
ความหมายและผลกระทบต่อสุขภาพ |
แหล่งกำเนิด |
มาตรฐาน |
วิธีการตรวจวัด (Method) |
|||||
ค่ามาตรฐาน |
หน่วยงาน |
||||||||
Thermal Comfort Parameter |
|||||||||
อุณหภูมิ (Temperature) |
เพื่อบ่งบอกถึงความพึงพอใจและความสบายของผู้ใช้พื้นที่ |
ระบบจัดการอากาศ (HVAC) |
24.0 -26.0 ºC |
SINGAPORE |
Direct Reading: Hot- wire, Thermistor , Thermoneter sling |
||||
ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) |
เพื่อบ่งบอกถึงความพึงพอใจและความสบายของผู้ใช้พื้นที่ รวมทั้งเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อรา |
ระบบจัดการอากาศ (HVAC) |
<65 %(อาคารใหม่) / <70 %(อาคารเก่า) |
SINGAPORE |
Direct Reading: Capacitor |
||||
ความเร็วลม (Air Movement) |
เพื่อบ่งบอกว่าในบริเวณดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวของอากาศหรือไม่ เพราะว่าบริเวณที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของอากาศแสดงว่ามลพิษหรือสารเคมีก็จะสะสมอยู่ในบริเวณดังกล่าว |
ระบบจัดการอากาศ (HVAC),พัดลมต่างๆ |
0.10-0.30 m/sec |
SINGAPORE |
Direct Reading: Hot- wire anemometer |
||||
อัตราการไหล (Flow Rate) |
เพื่อบ่งบอกถึงปริมาณอากาศที่ระบบจัดการอากาศ สามารถจ่ายให้กับพื้นที่ต่างเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ |
ระบบจัดการอากาศ (HVAC) |
สำนักงาน : 20 cfm/คน ห้องประชุม : 20 cfm/คน |
ASHRAE 62 ASHRAE 62 |
Direct Reading: Hot- wire anemometer |
||||
Chemical Parameter |
|||||||||
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) |
เป็นก๊าซที่มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 340 ppm และได้มีการศึกษารวบรวมและสรุปความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของ CO2 และอาการต่างๆ ดังนี้ - 600 ppm มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหา IAQ - 600-1,000 ppm มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหา IAQ แต่มักไม่สามารถหาสาเหตุได้ - 1,000 ppm บ่งชี้ถึงการระบายอากาศไม่เพียงพอ และผู้ที่ร้องเรียนมีอากาศปวดศีรษะ เหนื่อยล้า และมีปัญหาทางเดินหายใจส่วนบน |
เกิดจากการเผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงานของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ถูกนำออกมาจากร่างกายโดยการหายใจออก |
5,000 ppm 5,000 ppm 3,500 ppm (Long Term) 5,000 ppm 5,000 ppm 800/1,000 ppm 700 ppm above Outdoor
|
OSHA MAK CANADIAN NIOSH ACGIH HONG KONG ASHRAE 62 / SINGAPORE
|
Direct Reading: NDIR |
||||
คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) |
เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เป็นก๊าซที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เนื่องจากสามารถจับ ฮีโมโกลบิล ได้ดีกว่าออกซิเจนถึง 200-500 เท่า การหายใจเอาอากาศที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ - มากกว่า 10 ppm เข้าไปอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ นานเป็นเวลา 24 ชม. - สูงเกิน 25 ppm อาจทำให้ตาพร่ามัว - สูงเกิน 50 ppm อาจปวดศีรษะและการเต้นของหัวใจผิดปกติ |
การสูบบุหรี่, การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากการหุงต้ม, การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ |
9 ppm
9 ppm (per year) 50 ppm 30 ppm 11 ppm 8.7 ppm 35 ppm 25 ppm 1.7/8.7 ppm 13/1.3 ppm |
ASHRAE 62.1 / SINGAPORE NAAQS/EPA OSHA MAK CANADIAN WHO/EUROPE NIOSH ACGIH HONG KONG GERMAN |
· Direct Reading: NDIR · Direct Reading: Electrochemical sensor |
||||
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) |
เป็นก๊าซที่ไม่มีสี มีกลิ่นแรง โดยปกติเป็นก๊าซที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้งในแลพนอกอาคารที่ความเข้มข้นประมาณ 0.03 ppm ฟอร์มัลดีไฮด์มีผลกระทบต่อสุขภาพ คือที่ความเข้มข้นสูงกว่า 0.1 ppm ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง ทางเดินหายใจส่วนต้น และตา การสัมผัสที่ความเข้มข้น 2-10 ppm อาจทำให้ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน และไอได้ สำหรับคนที่มีภูมิไวรับสูง (Hypersensitivity) ที่ความเข้มข้นเพียง 0.1 ppm อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ |
วัสดุก่อสร้างที่นำมาสร้างหรือตกแต่งภายใน เช่น ไฟเบอร์บอร์ด ไม้อัด พรม เฟอร์นิเจอร์ ผ้าที่มีฟอร์มัลดีไฮด์เรซินเป็นส่วนผสม และควันบุหรี่ |
0.027 ppm 0.4 ppm 0.75 ppm 0.1 ppm 0.1 ppm
0.081 ppm (30 min.) 0.016 ppm (15 min.) 0.3 ppm (Ceiling) 0.024/0.081 ppm |
ASHRAE 62.1 NAAQS/EPA OSHA MAK CANADIAN/ SINGAPORE WHO/EUROPE NIOSH ACGIH HONG KONG |
· Direct Reading: Electrochemical sensor
|
||||
สารละเหยอินทรีย์ (Total VOCs) |
สารที่มีคาร์บอนและไฮโดรเจนอย่างน้อยหนึ่งอะตอมในโมเลกุล VOCs ที่เป็นสาเหตุของปัญหา IAQ มักเป็นสารเคมีที่มีความดันไอต่ำจึงสามารถระเหยขึ้นสู่บรรยากาศช้าๆ แต่ใช้ระยะเวลายาวนาน บางชนิดอาจใช้เวลาเป็นเดือนๆ หากพบสารระเหยอินทรีย์ทั้งหมดในห้องหรืออาคารใดเกินกว่า 1-2 ppm หรือ 200-500 µg/m3 ควรตระหนักว่าอาจมีปัญหา IAQ ได้ ผลกระทบต่อสุขภาพของ Total VOCs โดยรวม คือ ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ ปวดศีรษะ และจิตประสาทเสื่อม แต่ผลกระทบต่อร่างกายเนื่องจากการสัมผัส VOC หลายๆ สารพร้อมกันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด |
การเผาไหม้ การปรุงอาหาร วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างหรือตกแต่งภายใน เช่น สี สารเคลือบเงาไม้ กาว สารทำละลาย เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในสำนักงาน สารกำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนเช่นน้ำยาทำความสะอาด น้ำยารีดผ้าเรียบ เป็นต้น |
0.4 mg/m3 0.6 mg/m3 0.2-0.3 mg/m3 3 ppm
|
JAPAN HONG KONG GERMANY SINGAPORE
|
Direct Reading: Photo Ionization Detector
|
||||
ฝุ่นขนาดเล็ก : Respirable suspended Particulate
|
หมายถึงอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 10 µm ซึ่งเป็นขนาดของอนุภาคที่สามารถเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจได้ (Respirable Dust) และจุลชีพที่พบว่าแขวนลอยอยู่ในอากาศนั้น ส่วนใหญ่ก็มีขนาดอยู่ในช่วงนี้ด้วย การสูดเอาอนุภาคดังกล่าวเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ มีผลทำให้มีโอกาสเป็นโรคปอด เช่น การเกิดพังผืดในปอด (Fibrosis) หลอดลมอักเสบ(Bronchitis) การบีบแคบของหลอดลม (Asthma) |
ฝุ่นทั่วไป, ควันบุหรี่, ฝุ่นผ้า, เส้นใยแร่ใยหิน, สปอร์เชื้อรา, ละอองเกสรดอกไม้, แบคทีเรีย , ไวรัสรวมทั้งฝุ่นควันจากการจราจร |
0.05 mg/m3
|
ASHRAE 62.1/SINGAPORE
|
Direct Reading: Light Scattering |
||||
Biological Parameters |
|||||||||
แบคทีเรียทั้งหมด (Total Viable Bacteria) |
แบคทีเรีย คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป จะมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า มีทั่งชนิดที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และชนิดที่เป็นโทษคือทำให้เกิดโรค เจ็บป่วย ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น เช่นอาการเจ็บคอ ทอลซินอักเสบแดง มีเสมหะเป็นสีเหลือง/เขียว แผลเป็นหนอง ปวด บวม ร้อน บางชนิดอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยรุนแรงมากถึงเสียชีวิตได้ คือ Legionnaire |
แบคทีเรีย เจริญเติบโตได้ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ มีแหล่งอาหาร มีแหล่งน้ำขัง เช่น ถาดรองน้ำใน AHU หรือ มีแหล่งน้ำที่มีการแตกกระจายหรือฟุ้งกระจายกลายเป็นอนุภาคขนาดเล็กแขวนลอยในอากาศ |
500 CFU/m3 1,000 CFU/m3
|
SINGAPORE HONG KONG
|
Andersen Single-Stage Impactor |
||||
เชื้อราทั้งหมด (Total Viable Fungi) |
ราเป็นจุลชีพที่ทำลายพื้นผิวที่มันเกาะอยู่ และทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับได้ เชื้อราสามารถสร้างสารพิษ Toxin หรือตัวเชื้อราสร้างสปอร์ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพเช่น · ปฏิกิริยาภูมิแพ้ Allergic Reactions เมื่อได้รับสปอร์ได้แก่อาการ ไข้ บางคนมีอาการจาม น้ำมูกไหล หากสัมผัสบ่อยๆก็อาจจะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หนักถึงกับเสียชีวิต · ปอดอักเสบจากภูมิแพ้ Hypersensitivity Pneumonitis · ก่อให้เกิดระคายเคืองต่อตา จมูก หลอดลม ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน · ก่อให้เกิดสารพิษ |
สามารถเจริญเติบโตได้บนพื้นผิวของวัตถุที่มีความชื้นสูง โดยไม่จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำขัง สภาพที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของรา คือ ความชื้น > 70% อุณหภูมิ 5-35 °C และมีแหล่งอาหาร ซึ่งวัสดุก่อสร้างทั่วไปและสิ่งตกแต่งอาคารสามารถเป็นอาหารของราได้ดี |
500 CFU/m3
|
SINGAPORE
|
Andersen Single-Stage Impactor |
ตารางที่ 2 สรุปรายการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีแหล่งกำเนิดเฉพาะเจาะจง (Indoor Air Quality by Specific Sources)
รายการที่ควรตรวจวัด |
ความหมายและผลกระทบต่อสุขภาพ |
แหล่งกำเนิด |
มาตรฐาน |
วิธีการตรวจวัด (Method) |
|||
ค่ามาตรฐาน |
หน่วยงาน |
||||||
ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) |
หมายถึงอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 µm ซึ่งเป็นขนาดของอนุภาคที่สามารถเข้าไปถึงหลอดลมแขนง (Bronchi Branches) จนถึง ถุงลมปอดได้ การสูดเอาอนุภาคดังกล่าวเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ มีผลทำให้มีโอกาสเป็นโรคปอด เช่น การเกิดพังผืดในปอด (Fibrosis) หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) การบีบแคบของหลอดลม (Asthma) เป็นต้น |
ฝุ่นทั่วไป, ควันบุหรี่, ฝุ่นผ้า, เส้นใยแร่ใยหิน, สปอร์เชื้อรา, ละอองเกสรดอกไม้, แบคทีเรีย , ไวรัสรวมทั้งฝุ่นควันจากการจราจร |
0.025 mg/m3 (เฉลี่ย 1 ปี) 0.05 mg/m3 (เฉลี่ย 24 ชม.)
0.035 mg/m3 0.015 mg/m3
|
คณะกรรมการสวล.
SINGAPORE ASHRAE 62.1 |
Direct Reading: Light Scattering |
||
โอโซน (Ozone) |
เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอม อะตอม 3 นี้สามารถหลุดออกจากโมเลกุลของโอโซนและจับกับอนุภาคของสารอื่น ๆ ได้ ทำให้องค์ประกอบทางเคมีของสารเหล่านั้นเปลี่ยนไป ด้วยคุณสมบัตินี้เองที่ทำให้โอโซนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ คือ สามารถทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อปอดได้ ที่ความเข้มข้นค่อนข้างต่ำจะทำให้เจ็บหน้าอก ไอ หอบและระคายคอ โอโซนที่พบในอาคารต้องมาจากแหล่งที่ผลิตโอโซนอย่างต่อเนื่องเท่านั้น เนื่องจากโอโซนจะสลายตัวในอากาศอย่างรวดเร็ว |
มลพิษจากรถยนต์และแสงอาทิตย์ ฟ้าแลบ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องทำความสะอาดที่ใช้หลักการไฟฟ้าสถิตย์ และเครื่องถ่ายเอกสาร |
0.1 ppm (8 hrs.) 0.1 ppm (Ceiling) 0.8 ppm 0.12 ppm (1 hr.) 0.064 ppm 0.1 ppm (light) 0.025/0.061 0.1 ppm (8 hrs.) 0.050 ppm |
OSHA NIOSH NAAQS/EPA CANADIAN WHO/EUROPE ACGIH HONG KONG SINGAPORE ASHRAE 62.1 |
Direct Reading: Chemiluminescent |
||
ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) |
เป็นก๊าซ ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีของไนโตรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ยกเว้นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เมื่อรวมตัวกับอนุภาคอื่นๆในอากาศ จะเห็นเป็นชั้นสีน้ำตาลแดง ผลกระทบต่อมนุษย์ ด้วยอัตราส่วนผสมที่แตกต่างในแต่ละตัวของไนโตรเจน จึงส่งผลต่อมนุษย์ ที่แตกต่างกัน 1. โอโซน เมื่อไนโตรเจนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับสารระเหยอินทรีย์ (Volatile Organic Compound) และมีพลังงานจากแสงอาทิตย์ช่วยเร่งปฏิกิริยา จะทำให้เกิดก๊าซโอโซนในระดับภาคพื้นดิน (Smog) เมื่อมนุษย์สูดดมก๊าซนี้เข้าไปเป็นเวลานาน เนื้อปอดจะถูกทำลาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลงโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคปอดหรือระบบทางเดินหายใจ 2. กรดไนตริก เกิดจากก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ทำปฏิกิริยากับสารประกอบตัวอื่นๆ เช่น แอมโมเนีย หรือ ไอน้ำ ทำให้เกิดฝุ่นละอองที่มีอนุภาคเล็ก หากสูดดมเข้าไปจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำลายปอด ส่วนผู้ที่มีภาวะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้วจะส่งผลกระทบรุนแรงขึ้น 3. สารประกอบทางเคมีเป็นพิษอื่นๆ เช่น ไนเตรทเรดิคัล ไนโตรเรนส์ ไนโตรซาไมด์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการกลายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต |
ก๊าซจำพวกไนโตรเจนออกไซด์ เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติแต่เกิดในปริมาณไม่มากนัก ส่วนสาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ในอุณหภูมิสูง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ของรถยนต์ โรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมต่างๆ การเผาไหม้เชื้อเพลิงในครัวเรือน โดยสัดส่วนการเกิดจากรถยนต์มีสูงถึงร้อยละ 55 ของการเกิดทั้งหมด
|
0.2 ppm
0.1 mg/m3
|
ACGIH
ASHRAE 62.1/ SINGAPORE
|
Diffusion tube passive sampler/ NIOSH 6014 |
||
เชื้อแบคทีเรีย ลีจิโอเนลลา นิวโมฟิลา (Legionella pneumophila) |
การติดเชื้อโรคจากระบบปรับอากาศภายในอาคาร คือ ปัญหาการเกิดโรคลีเจียนแนร์ (Legionnaires’ disease) เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย ลีจิโอเนลลา นิวโมฟิลา (Legionella pneumophila) อย่างเฉียบพลันในทางเดินหายใจส่วนล่าง เชื้อสามารถเข้าสู่คนโดยการติดปะปนมากับละอองไอน้ำที่ถูกทำให้เกิดขึ้นในอากาศทั้งภายในและภายนอกอาคาร เช่น การพ่นละอองของน้ำ และถ้าหากมีเชื้อนี้ในหอหล่อเย็นและละอองฝอยจากหอหล่อเย็นหลุดลอยเข้าไปในระบบอากาศของอาคาร ก็จะทำให้ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารอาจได้รับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายได้
|
เชื้อลีจิโอเนลลา นิวโมฟิลา อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำขังนิ่ง เช่น น้ำในทะเลสาบ แม่น้ำ ลำคลอง และน้ำพุร้อน รวมทั้งมักพบในน้ำที่ไม่ใช่ตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ระบบน้ำอุ่นตามบ้านเรือน น้ำฝักบัว และอ่างน้ำวน น้ำในหอหล่อเย็นที่ใช้ระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศแบบหน่วยกลาง เป็นต้น อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมที่เชื้อชนิดนี้จะเจริญแบ่งตัวได้ดีอยู่ระหว่าง 20-45 °C ค่าความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 5.0-8.5 ทั้งนี้ |
100,000 CFU/ liter (น้ำ Cooling) |
กรมอนามัย |
จ้วงตัก |
Reference:
(Singapore) - Singapore Standard SS 554 : 2009 [Code of Practice for Indoor Air Quality for Air Conditioned buildings] (incorporating Erratum No.1,November 2009)
(ASHRAE 62) – ASHRAE 62 -1999 ASHRAE STANDARD : Ventilation for Acceptable indoor Air Quality. American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers,inc. 1791 Tullie Circle,NE,Atlanta,GA 30329
(ASHRAE 62 .1)– ASHRAE 62.1 -2007 ASHRAE STANDARD : Ventilation for Acceptable indoor Air Quality. American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers,inc. 1791 Tullie Circle,NE,Atlanta,GA 30329
(NAAOS/EPA) - U.S. Environmental Protection Agency. (2000). Code of Federal Regulations, Title 40, Part 50. National Ambient Air Quality Standards. [Online at: http://www.epa.gov/ttn/naaqs/ ]
(OSHA) - U.S. Department of Labor, Occupational Safety and Health Administration. Code of Federal Regulations, Title 29, Part 1910.1000-1910.1450. [Online at:
http://www.osha.gov/pls/oshaweb/owadisp.show_document?p_table=STANDARDS&p_id=9992 ]
(MAK) – Maximum Concentrations at the Workplace and Biological Tolerance Values for Working Materials 2000. Commission for the Investigation of Health Hazard of Chemical Compounds in theWork Area, Federal Republic of Germany.
(Canadian) – Health Canada (1995). Exposure Guidelines for Residential Indoor Air Quality: A Report of the Federal-Provincial Advisory Committee on Environmental and Occupational Health.Ottawa: Health Canada.
(WHO/Europe) – World Health Organization (2000). Air Quality Guidelines for Europe (2nd Edn.). World Health Organization Regional Publications, European Series No. 91. World Health
Organization, Regional Office for Europe, Copenhagen. [online at: http://www.euro.who.int/document/e71922.pdf ]
(NIOSH) – NIOSH. (1992). NIOSH Recommendations for Occupational Safety and Health – Compendium of Policy Documents and Statements. National Institute for Occupational Safety and Health,January. [Online at: http://www.cdc.gov/niosh/chem-inx.html ]
(ACGIH) – ACGIH. (2013) Threshold Limit Values for Chemical Substances and Physical Agents and Biological Exposure Indices. American Conference of Governmental Industrial Hygienists, 1330 Kemper Meadow Drive, 6500 Glenway, Building D-7, Cincinnati, OH, 45240-1630.
(Hong Kong) – The Government of the Hong Kong Special Administrative Region, A Guide on Indoor Air Quality Certification Scheme, 2003 [online at: http://www.iaq.gov.hk/cert/doc/CertGuideeng.pdf ]
(German) – Umwelt Bundes Amt (German Federal Environmental Agency). “Guideline Value for Indoor Air.” [Online] 03 March 2005.
คณะกรรมการสวล.- ประกาศ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป
กรมอนามัย- ประกาศกรมอนามัย เรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมเชื้อลีจิโอเนลลา ในหอผึ่งเย็นของอาคารในประเทศไทย/ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.